วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ตัวอย่าง stop motion


กระบวนการพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย

กระบวนการพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย

ขั้นตอนของกระบวนการพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา โดยการประยุกต์โมเดลของแต่ละท่านร่วมกับประสบการณ์จริงที่ผู้เขียนได้มีโอกาสทำงานทางด้านการพัฒนามัลติมีเดียเพื่อนการเรียนรู้ทั้งในระดับรายวิชาเล็กๆ จนถึงโครงการพัฒนาระดับประเทศ โดยโมเดลที่นำเสนอนี้ผู้เขียนพยายามให้เหมาะสมกับบริบทของการพัฒนาบทเรียนในวงการศึกษาไทยทั่วไปที่ครูผู้สอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางได้จริง
ขั้นที่ 1 การวางแผน (Planning)
ในกระบวนการพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ ขั้นตอนการวางแผนนับว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างหนึ่ง เพราะเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์และกำหนดแผนปฏิบัติงาน หากวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องไม่ชัดเจน ไม่สมบูรณ์ จะส่งหรือผลให้การออกแบบการนำเสนอเนื้อหาบทเรียนไม่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ และทำให้บทเรียนสร้างขึ้นไม่มีประสิทธิภาพที่จะนำไปใช้งานได้      ขั้นตอนการวางแผน ประกอบด้วย
1) กำหนดเป้าหมาย  ผู้พัฒนาบทเรียนจะต้องกำหนดเป้าหมายของการเรียนให้ชัดเจนว่าผู้เรียนคือใคร ต้องการให้ผู้เรียนรู้อะไร หรือบอกว่าผู้เรียนสามารถทำไรได้บ้างหลังจากการศึกษาบทเรียนแล้ว อย่างไรก็ตามการกำหนดเป้าหมายในขั้นนี้อาจไม่จำเป็นต้องระบุพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดขึ้น แต่อาจกล่าวในลักษณะของวัตถุประสงค์กว้างๆทั่วไปไว้ก่อน
2) วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง  เพื่อนำมาเป็นข้อมูนในการวางแผนการปฏิบัติงานและการออกแบบบทเรียน ซึ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่
2.1) กลุ่มเป้าหมายและความต้องการในการเรียน โดยศึกษาลักษณะของผู้เรียนไม่จะเป็นอายุ ระดับความรู้พื้นฐาน ฐานะ ศาสนา สภาพสิ่งแวดล้อม ค่านิยม  ทัศนคติ พฤติกรรมหรือรูปแบบการเรียนเป็นต้น
2.2) เนื้อหาวิชา เป็นการวิเคราะห์เพื่อกำหนดขอบข่ายของเนื้อหา โดยพิจารณาจากเป้าหมายที่กำหนดไว้ว่าเนื้อหาที่ต้องการถ่ายทอดไปสู่ผู้เรียน จากนั้นศึกษาว่าเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอนั้นมีขอบเขตที่เกี่ยวข้องเพียงใด ประกอบด้วยหัวข้อจำเป็นต้องนำเสนอหรือไม่จำเป็นจากนั้นจัดลำดับเนื้อหานับว่ามีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันโดยกำหนดออกมาเป็นหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อยการวิเคราะห์เนื้อหานับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง
2.3) ทรัพยากรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นการวิเคราะห์ทรัพยากรทั้งหมดที่จะต้องใช้การพัฒนาบทเรียน ทั้งด้านของแหล่งข้อมูล บุคลากร ฮาร์ดแวร์ และซอฟแวร์ รวมทั้งงบประมาณ การวิเคราะห์แหล่งข้อมูลเพื่อที่จะทราบว่าจะสามารถรวบรวมข้อมูลต่าง ที่เกี่ยวข้องจากเอกสาร ตำรา ฯลฯ หรือแหล่งข้อมูลที่เป็นบุคคลจากที่ใดได้บ้าง การวิเคราะห์บุคลากรในการผลิตเพื่อทราบว่ามีบุคลากรรองรับบทหน้าที่ใดได้บ้าง ซึงต้องการวิเคราะห์ว่าจะใช้งบประมาณเท่าใดในการพัฒนา มีแหล่งทุนหรือไม่ ถ้าไม่มีจะหาได้ที่ไหน
3) กำหนดแผนการปฏิบัติงาน  นำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์มาทำการว่างแผนการปฏิบัติงานโดยแบ่งขั้นตอนการทำงานออกเป็นระยะๆ แต่ละช่วงมีภารกิจใดที่ต้องดำเนินการ ใครบ้างที่เกี่ยวข้องและเป็นผู้รับผิดชอบ ควรใช้เวลาเท่าใด โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในแต่ละขั้น ในขั้นนี้ควรประชุมชี้แจงให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดเข้าใจแผนการปฏิบัติงานร่วมกัน
ขั้นที่ 2 การออกแบบ (Desing)
ขั้นตอนการออกแบบนี้เปรียบเสมือนการร่างของบทเรียน เพื่อเป็นต้นแบบให้ฝ่ายโปรแกรมนำไปผลิตตามแบบที่กำหนดไว้ โดยเริ่มจากการกำหนดวัตถุประสงค์ขงบทเรียน การเขียนเนื้อหาเป็นกิจกรรมการเรียนการสอน จากนั้นจึงนำเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้ไปออกแบบในลักษณะที่จะมองเห็นผ่านหน้า ซึ่งในขั้นตอนนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้ประโยชน์ในการออกแบบบทเรียนมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ที่ได้แนะนำไปในบทก่อนๆ มาเป็นแนวทางในการออกแบบ  ขั้นตอนการออกแบบ ประกอบด้วย
1) เขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม  เป็นการนำวัตถุประสงค์ทั่วไปที่ได้กำหนดไว้ในขั้นการวางแผนมาเขียนเป็นรูปแบบวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ซึ่งจะบ่งบอกสิ่งที่คาดหวังว่าผู้เรียนจะแสดงพฤติกรรมใดๆ ออกมาหลังจากสิ้นสุดการเรียนรู้ โดยพฤติกรรมนั้นจะต้องวัดได้สังเกตได้ คำที่ระบุในวัตถุประสงค์ประเภทนี้จึงเป็นคำกริยาที่ชี้เฉพาะ เช่น อธิบาย แยกแยะ เปรียบเทียบ วิเคราะห์ เป็นต้น
2) เขียนเนื้อหา  การวิเคราะห์เนื้อหาในขั้นตอนการวางแผน ทำให้ทราบขอบเขตของเนื้อหาบทเรียน ที่ต้องก็นำเสนอ ในขั้นตอนนี้จะต้องรวบรวมเนื้อหาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ รวมทั้งจากผู้เชี่ยวชาญ มาทำการเขียนเรียบเรียงใหม่ตามหัวข้อที่ว่างแผนไว้ โดยพิจารณาให้เหมาะสมเกี่ยวกับการนำเสนอด้วยบทเรียนมัลติมีเดีย รูปแบบการเขียนอาจใช้วิธีการเหมือนการเขียนหนังสือหรือบทความ แต่ควรใช้ประโยคที่สั้นกระชับได้ใจความ
 3) กำหนดรูปแบบ กลวิธีในการสอน และวิธีการประเมิน  เป็นการนำเนื้อหาที่ได้มาพิจารณาว่าจะทำการเรียนการสอนอย่างไร ซึ่งโดยปกติรูปแบบและกลวิธีในการสอนมีการสอนที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขันอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น วัตถุประสงค์ของบทเรียน ผู้เรียน สภาพล้อมของห้องเรียนและสื่อการสอน เป็นต้น ผู้ที่มีประสบการณ์ในการสอนจะสามารถคิดหารูปแบบในการสอนได้เร็วและลากหลาย ดังนั้น ในขั้นนี้ผู้ออกแบบการสอนควรต้องหาคนช่วยคิดเพื่อนให้ได้รูปแบบหลายๆ รูปแบบ โดยอาจใช้เทคนิคระดมสมองและต้องคิดวิธีประเมินผลการเรียนรู้เพื่อนที่จะพิจารณาว่าผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่
4) วางโครงสร้างของบทเรียนและเส้นทางการควบคุมบทเรียน  การออกแบบโครงสร้างของบทเรียนเป็นการกำหนดความสัมพันธ์ของส่วนประกอบต่างๆ ในบทเรียนแบบคร่าวๆ ไม่ว่าจะเป็น ส่วนนำ ส่วนเนื้อหา ส่วนแบบฝึกหัด ส่วนแบบทดสอบ เป็นต้นนอกจากนี้โครงสร้างยังแสดงให้เห็นภาพลักษณะการเข้าสู่แต่ละส่วนในการเรียนว่ามีเส้นทางใดบ้าง ผู้เรียนสามารถเรียนในลักษณะเส้นตรงหรือเป็นไม่เป็นเส้นตรง โดยส่วนใหญ่จะว่างโครงสร้างบทเรียนและเส้นทางการควบคุมบทเรียนนี้จะพิจารณาจากขอบข่ายของเนื้อหาและรูปแบบการเรียนการสอนรวมทั้งพิจารณาลักษณะของผู้เรียนเพื่อออกแบบการใช้งานที่เหมาะสม
5) เขียนผังการทำงาน (Flow Chart)  ผังการทำงาน หมายถึง แผนภูมิที่แสดงความสัมพันธ์ของบทเรียนเนื้อหาแต่ละเฟรมหรือแต่ละส่วนตั้งแต่เริ่มต้นจนจบของบทเรียนในลักษณะที่ละเอียดขึ้นกว่าดูจากโครงสร้าง โครงสร้างอาจจะบอกได้ในภาพรวมแต่ผังงานจะเกี่ยวข้องไปถึงทางเลือกต่างๆ ที่ผู้เรียนโต้ตอบกับบทเรียน
6) ร่างส่วนประกอบต่างๆ ในหน้าจอ (Interface Layout)  เมื่อดำเนินการมาถึงขั้นนี้แล้ว จะทำให้เราเกิดภาพหน้าจอคร่าวๆ ในใจ ว่าบทเรียนจะประกอบด้วยส่วนใดบ้าง ส่วนเนื้อหาเป็นอย่างไร มีหัวข้อใหญ่หัวข้อรองที่ระดับ แบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบเป็นอย่างไรมีระบบเข้าถึงข้อมูลอย่างไร มีปุ่มควบคุมบทเรียนกี่ปุ่ม ซึ่งผู้ออกแบบควรร่างส่วนประกอบต่างๆ เหล่านี้ออกมาให้สามารถมองเห็นตำแหน่งของส่วนประกอบต่างๆ เพื่อให้ผู้ที่ทำหน้าที่ผลิตสตอรี่บอร์ดในขั้นต่อไปนี้ได้นำไปใช้เป็นแนวทาง ในกรณีที่เป็นชุดบทเรียนหลายๆ เรื่อง นิยมทำออกมาในลักษณะ Template แบบต่างๆ เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน
7)  เขียนสตอรี่บอร์ด (Storyboard)  จากผลการทำงานและร่างหน้าจอขั้นที่แล้ว ทีมพัฒนาจะนำมาขยายรายละเอียดออกเป็นสตอรี่บอร์ดของบทเรียนมัลติมีเดียซึ่งมักจะเป็นแบบฟอร์มกระดาษที่แสดงรายระเอียดแต่ละหน้าจอตั้งแต่ละหน้าจอตั้งแต่เฟรมแรกจนถึงเฟรมสุดท้ายของบทเรียนว่าจะนำเสนอข้อมูลในเฟรมนั้นด้วยวิธีการแบบใดโดยแสดงภาพหน้าจอพร้อมทั้งแสดงรายระเอียดข้อความและลักษณะของภาพ และเงื่อนไขต่างๆ ในเฟรมนั้น เช่น ถ้านำสัมพันธ์มีการแสดงและโต้ตอบกับผู้เรียนอย่างไร ถ้าผู้เรียนคลิกเมาส์ แล้วโปรแกรมจะตอบสนองอย่างไร  เป็นต้น
สตอรี่บอร์ดจะถูกนำไปให้ฝ่ายโปรแกรมทำการเขียนโปรแกรมตามรายละเอียดที่กำหนดให้ ดังนั้นการสร้างสตอรี่บอร์ดต้องมีความระเอียดรอบคอบและสมบูรณ์เพื่อให้การสร้างบทเรียนในขั้นต่อไปทำได้ง่ายและเป็นระบบ อีกทั้งยังสะดวกต่อการแก้ไขบทเรียนในภายหลัง
ขั้นที่ 3 การพัฒนา (Development)
เมื่อผ่านกระบวนการออกแบบทุกออกแบบทุกอย่างแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนสำคัญที่ต้องถ่ายทอดสิ่งที่ออกแบบไว้ในสตอรี่บอร์ดออกมาเป็นโปรแกรมบทเรียนมัลติมีเดียที่สามารถใช้งานได้จริง ซึ่งบทบาทสำคัญในขั้นตอนนี้อยู่ที่การจักหาส่วนประกอบการนำเสนอ และเขียนโปรแกรมไปอย่างสะดวก รวดเร็ว  ขั้นตอนการพัฒนา ประกอบด้วย
1) เตรียมสื่อในการนำเสนอเนื้อหา  ในขั้นตอนนี้ควรทำการวิเคราะห์สตอรี่บอร์ดว่าในแต่ละหน้าจอต้องใช้สื่อใดประกอบการนำเสนอเนื้อหาบ้าง หากเป็นไปได้ควรแยกออกมาเป็นรายการในแต่ละประเภทเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้รับผิดชอบโดยต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและการออกแบบการเรียนการสอนพิจารณาความถูกต้องและเหมาะสมของสื่อที่จัดหามา
1.1) การเตรียมข้อความ วิธีการเตรียมข้อความ ควรจัดการพิมพ์ข้อความและบันทึกในรูปแบบไฟล์ข้อมูลประเภท Word หรือ Tex โปรแกรมเมอร์สะดวกในการใช้งาน
1.2) การเตรียมภาพกราฟิก ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวในรูปแบบไฟล์คอมพิวเตอร์การเตรียมภาพนิ่งผู้รับผิดชอบใช้วิธีการหาจากภาพที่มีอยู่แล้วจากแหล่งต่างๆ
1.3) การเตรียมเสียง ผู้รับผิดชอบต้องจัดหาเสียงประเภทต่างๆทั้งเสียงบรรยายเสียงดนตรีและเสียงประกอบ โดยการบันทึกเสียงขึ้นมาใหม่หรือการจัดหามาอย่างถูกต้องตามลิขสิทธิ์
1.4) การเตรียมวีดิทัศน์ หากต้องการถ่ายทำวีดิทัศน์ขึ้นมาใหม่ ขั้นตอนนี้ก็เปรียบได้กับการทำสื่ออีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งผู้รับผิดชอบต้องเตรียมสคริปต์ อุปกรณ์ สถานที่ นักแสดงให้พร้อม หลังจากบันทึกแล้วก็นำมาตัดต่อให้พอดีกับเวลาที่กำหนด จากนั้นจึงแปลงไฟล์ในโปรแกรมเมอร์ต้อง เพราะไฟล์วีดีโอบางอย่างไม่สามารถแสดงผลได้ดีเมื่อต้องนำมาใช้ประกอบโปรแกรมมัลติมีเดีย
2) เตรียมกราฟิกที่ใช้ตกแต่งหน้าจอ  ในขั้นตอนนี้นักออกแบบกราฟิกจะต้องทำการสร้างกราฟิกหลักที่จะนำไปใช้ที่หน้าจอ เช่น พื้นหลังของจอซึ่งอาจแตกต่างกันในแต่ละส่วนของบทเรียนต้องต้องเข้าเป็นส่วนนั้นๆ หรือปุ่มควบคุมบทเรียนที่ต้องออกแบบให้สื่อถึงหน้าที่การใช้งาน นอกจากนี้อาจรวมถึงการออแบบส่วนนำ รือส่วนอื่นๆ ที่ไม่ใช่กราฟิกประกอบการนำเสนอเนื้อหา จากนั้นจึงบันทึกไฟล์แยกไว้ให้โปรแกรมเมอร์นำไปประกอบในขั้นตอนต่อไป
3) การเขียนโปรแกรม  เป็นหน้าที่ของบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในการใช้โปรแกรมในการสร้างมัลติมีเดีย ไม่ว่าโปรแกรมสำเร็จรูป เนื่องจากเป็นโปรแกรมไม่ยากผู้รับผิดชอบหน้าที่นี้จึงควรเป็นผู้สอนหรือเจ้าหน้าที่ทั่วไปที่ไม่จำเป็นต้องทักษะทางด้านการเขียนโปรแกรมมาก่อน หรือหากชิ้นงานมัลติมีเดียที่มีความซับซ้อนก็จำเป็นต้องใช้โปรแกรมเมอร์ที่มีความเชี่ยวชาญในการใช้โปรแกรมเป็นอย่างดี  ในขั้นตอนนี้ผู้เขียนโปรแกรมต้องนำกราฟิกหน้าจอ รวมทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์ และเสียงที่ได้จัดเตรียมไว้แล้วมาประกอบลงในโปรแกรมจนสมบูรณ์สวยงาม
4) ทดสอบการใช้งานเบื้องต้น  ในขั้นตอนนี้ทีมงานผลิตทั้งหมดต้องทำการทดสอบการใช้งานบทเรียนเบื้องต้น โดยร่วมกันตรวจสอบการใช้งานเพื่อหาข้อผิดพราดของโปรแกรม (Bug) และทำการปรับปรุงแก้ไข จากนั้นทำการทดสอบการใช้งานอีกครั้งจนมั่นใจว่าโปรแกรมไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ
5) สร้างคู่มือการใช้งานและบรรจุภัณฑ์  การสร้างคู่มือการใช้งาน เป็นการอำนวยสะดวกแก่กลุ่มเป้าหมายที่จะนำบทเรียนไปใช้ ซึ่งอาจต้องแบ่งคู่มือสำหรับครูผู้สอน และคู่มือสำหรับผู้เรียน ภายในคู่มือนอกจากจะบอกวิธีการใช้งานโปรแกรมแล้ว ควรบอกคุณสมบัติของเครื่องคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการที่เหมาะสม รวมทั้งวิธีการเพิ่มคำแนะนำเกี่ยวกับขั้นตอนการเรียนการสอนและบทบาทที่ผู้สอนควรปฏิบัติ เพื่อให้การนำบทเรียนไปใช้กับผู้เรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนบรรจุภัณฑ์เป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้บทเรียน บางครั้งอาจแสดงวิธีการใช้โปรแกรมลงในบรรจุภัณฑ์ก็ได้
ขั้นที่ 4 การประเมินและปรับปรุง (Evaluation and Revise)
ขั้นตอนการประเมินและปรับปรุง  ประกอบด้วย
1) การประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ (Expert Evaluation)  เป็นการนำบทเรียนมัลติมีเดียไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและด้านสื่อตรวจสอบ ควรให้ผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 1 คนเป็นผู้ตรวจสอบ จากนั้นนำข้อเสนอแนะและคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญมาปรับปรุงแก้ไขสื่อโดยจะต้องเลือกข้อเสนอแนะที่สามารถนำไปปรับปรุงได้อย่างแท้จริง การประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญอาจใช้วิธีการสัมภาษณ์โดยผู้เชี่ยวชาญหลังจากให้ทดลองใช้งานบทเรียนแล้ว หรือให้ทำแบบประเมินคุณภาพ ซึ่งแนวทางในการประเมินในแต่ละด้าน มีดังนี้
1.1)  การประเมินด้านเนื้อหา
1.2)  การประเมินด้านสื่อ มี 3 ด้าน คือ
1.1.1)  ด้านการออกแบการเรียนการสอน
1.1.2)  ด้านการออกแบบหน้าจอ
1.1.3)  ด้านการใช้งาน
2) การทดลองใช้กับผู้เรียน (Learner Try-out)  ถึงแม้ว่าเราจะนำข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญมาปรับปรุงแก้ไขสื่อแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสื่อนั้นจะมีประสิทธิภาพ  ตราบใดที่ยังไม่ได้นำไปทดลองใช้กับผู้เรียน  ซึ่งการทดลองใช้กับผู้เรียนที่เป็นเป้าหมายของบทเรียน  แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ
2.1)  Pilot Testing  ขั้นแรกในการทดลองใช้บทเรียนกับผู้เรียน  คือ  หากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของกลุ่มผู้เรียนจริง 3 คน  ซึ่งเป็นนักเรียนที่มีผลการเรียนดี  ปานกลาง  และไม่ดี  การเลือกกลุ่มตัวอย่างที่คละกันจะช่วยให้ผู้ออกแบบบทเรียนได้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนแต่ละระดับ  ความสามารถชัดเจนขึ้นขณะทดสอบบทเรียน  ผู้ทดสอบควรสังเกตพฤติกรรมการเรียน  การตอบคำถาม  การควบคุมบทเรียน  และเวลาที่ใช้ในการเรียนของแต่ละคน  โดยก่อนการทดลองผู้เรียนควรได้รับทราบเหตุผลขอการเรียน  ทั้งนี้เพื่อผู้เรียนจะได้สังเกตและให้คำแนะนำโดยละเอียดและชัดเจนขึ้น  ผลการประเมินหากพบว่าบทเรียนดังกล่าวมีจุดใดบกพร่องก็ควรแก้ไขปรับปรุง
2.2)  Field Testing  ขั้นตอนต่อมานำบทเรียนที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทำการทดลองใหม่กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของกลุ่มผู้เรียนจริง  จำนวนไม่น้อยกว่า 30 คน เพื่อวัดประสิทธิภาพของบทเรียน  โดยพยายามจัดสภาพการณ์ให้เหมืนกับการใช้งานจริง  ก่อนการทดลองควรให้ผู้สอนชี้แจงวัตถุประสงค์ของบทเรียนและแนะนั้นตอนการใช้งานบทเรียนอย่างคร่าวๆ แล้วให้ผู้เรียนทดลองเรียนรู้จากบทเรียนด้วยตัวเอง  ซึ่งวิธีการหาประสิทธิภาพของบทเรียน มีดังนี้
2.3)  การหาประสิทธิภาพของบทเรียน ซึ่งพิจารณาจากอัตราส่วนของประสิทธิภาพของกิจกรรมหรืองานที่ได้รับมอบหมายต่อประสิทธิภาพของผลลัพธ์โดยพิจารณาจากผลการสอบ
2.4) การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นการประเมินที่พิจารณาจากคะแนนการทำแบบทดสอบของผู้เรียนหลังจากที่ได้ทดลองเรียนรู้จากสื่อแล้ว หากทำการทดลองหลังเรียนเพียงอย่างเดียว อาจใช้วิธีเปรียบเทียบคะแนนที่ได้กับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ว่าผ่านหรือไม่ โดยพิจารณาจากคะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนทั้งหมดว่าสูงหรือต่ำกว่าเกณฑ์
3)  การปรับปรุงแก้ไข (Revise)  ควรวิเคราะห์ผลที่ได้จากการประเมินทั้งหมด  โดยการพิจารณาความสอดคล้องและแตกต่างจากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและความคิดเห็นจากความตัวอย่าง  รวมทั้งเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่าง  เมื่อพบข้อบกพร่องแล้ว  ทีมผู้พัฒนาต้องระดมสมองเพื่อหาสาเหตุของปัญหาว่ามาจากขั้นตอนใดในกระบวนการพัฒนาทั้งหมด  และมีแนวทางปรับปรุงแก้ไขอุดช่องโหว่ในจุดนั้นอย่างไร  จากนั้นจึงทำการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้บทเรียนมีคุณภาพเพียงพอที่จะนำไปใช้งานจริง

การคุมกำเนิดที่เหมาะสมในวัยรุ่น

การคุมกำเนิดที่เหมาะสมในวัยรุ่น

            วิธีคุมกำเนิดในปัจจุบันแต่ละวิธีจะมีข้อดีข้อจำกัดแตกต่างกันไป ยังไม่มีวิธีหนึ่งวิธีใดที่สามารถใช้ได้กับทุกสภาวะ จึงต้องพิจารณาเปรียบเทียบประโยชน์กับความเสี่ยงของวิธีดังกล่าว วิธีในอุดมคติสำหรับการคุมกำเนิดในวัยรุ่นควรมีคุณสมบัติคือปลอดภัย ราคาไม่แพง สามารถมีบุตรได้เมื่อเลิกใช้ และปราศจากผลข้างเคียง ในบทความนี้จะกล่าวถึงความหมาย ชนิดของการคุมกำเนิด วิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราว ข้อดี ข้อเสียของแต่ละวิธี
ความหมายของการคุมกำเนิด คือ การป้องกันการปฏิสนธิ เพื่อกำหนดจำนวน และระยะการมีบุตรให้เหมาะสมกับฐานะครอบครัวและเศรษฐกิจ

วิธีการคุมกำเนิด  อาจแบ่งออกเป็นวิธีใหญ่ ๆ ได้ดังนี้

1.การคุมกำเนิดแบบชั่วคราว เป็นการคุมกำเนิดเพื่อเว้นระยะเวลาการมีบุตร เมื่อเลิกใช้แล้วสามารถมีบุตรได้อีกเช่น  ถุงยางอนามัย ห่วงอนามัย ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาฉีดคุมกำเนิด และยาฮอร์โมนฝังคุมกำเนิด เป็นต้น
2.การคุมกำเนิดแบบถาวร เป็นการคุมกำเนิดอย่างถาวร เช่น การทำหมันหญิง หรือ การทำหมันชาย  ยาคุมกำเนิดที่ดีควรมีคุณสมบัติดังนี้
3.ประสิทธิภาพดี คุมกำเนิดได้แน่นอน
4.สะดวกในการใช้
5.มีราคาเหมาะสม
6.ไม่มีอาการข้างเคียง แม้จะใช้นานหลาย ๆ ปี
7.ไม่มีฤทธิ์ตกค้างเมื่อหยุดใช้ยา
8.มีรอบระดูที่แน่นอน

ยาเม็ดคุมกำเนิด

1. ยาคุมกำเนิดรวม 
            ยาแต่ละเม็ดประกอบด้วยฮอร์โมนเพศหญิงชนิดสังเคราะห์ 2 ชนิด ทั้งหมดใน 1 ชุดจะมี 21 เม็ด สำหรับชุดที่มี 28 เม็ดนั้น 7 เม็ดหลังจะเป็นวิตามินหรือธาตุเหล็ก การรับประทานจะเริ่มรับประทานในวันที่ 1-5 ของรอบเดือน (หลังจากมีประจำเดือน) ไปจนถึงวันที่ 24 หรือ 25 ของรอบเดือน

ข้อแนะนำสตรีที่กินยาเม็ดคุมกำเนิด 
- เวลากินยาที่เหมาะสมคือ หลังอาหารเย็น ซึ่งการดูดซึมจะเข้า หากมีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้น เช่น คลื่นไส้ ก็ควรเกิดระหว่างผู้ป่วยหลับแล้ว และหากลืมกินยาจะมีเวลาพอนึกได้ก่อนเวลานอน 
- กินยาควรกินเวลาเดียวกันทุกวัน เพื่อให้ระดับ Hormone สม่ำเสมอ ลดโอกาสที่จะเกิดเลือดออกกระปิดกระปรอยทางช่องคลอด 
- เมื่อลืมกินยาให้รีบกินทันทีที่นึกได้ และกินเม็ดต่อไปตามเวลาปกติ แต่ถ้าหากนึกได้เมื่อจะถึงเวลากินยาเม็ดต่อไปแล้ว จะกินยาเพียงเม็ดเดียวหรือ 2 เม็ด ก็ไม่มีผลแตกต่างกันในด้านคุมกำเนิด 
- การลืมกินยาบ่อย ๆ อาจทำให้เลือดออกกะปริดกะปรอยและผลในการคุมกำเนิดไม่แน่นอน

วิธีใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด 
            1. การเริ่มต้นใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด ในภาวะปกติให้เริ่มรับประทานยาคุมกำเนิดเม็ดแรกในวันที่ 5 ของรอบเดือน (ไม่ควรเกินวันที่ 7) ครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหารเย็นหรือก่อนนอน จนหมด 21 เม็ด แล้วหยุดรอให้ประจำเดือนมา ประจำเดือนจะเริ่มมาประมาณ 2-4 วันหลังหยุดยา จากนั้นเริ่มยาใหม่ในวันที่ 5 ของรอบเดือนเช่นเดิม ถ้าเป็นชนิด 28 เม็ด ให้รับประทานจนหมดแผงแล้วขึ้นแผงใหม่เลยโดยไม่ต้องหยุดยา 

            2. เวลารับประทานยา เวลาที่เหมาะสมคือ หลังอาหารเย็น เพราะระยะนี้การดูดซึมของยาช้า ทำให้เกิดอาการข้างเคียงน้อย ควรรับประทานยาเวลาเดียวกันทุกวัน เพื่อให้ระดับยาสม่ำเสมอและลดอาการเลือดออกกะปริดกะปรอย

            3. การปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา ให้รีบรับประทานยาทันทีที่นึกได้ และทานยาเม็ดต่อไปตามปกติ แต่ต้องระลึกไว้เสมอว่าการลืมรับประทานยานานเกิน 8 ชั่วโมง อาจมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ จึงควรใช้วิธีคุมกำเนิดอย่างอื่นร่วมด้วย 

           
4. การปฏิบัติเมื่อประจำเดือนขาดหายไปในระยะที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดอยู่ในเดือนแรก ถ้าไม่ลืมรับประทานยาต่อตามปกติไม่ต้องกังวล แต่ถ้าประจำเดือนขาดหายไป 2 เดือน ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจดูว่าตั้งครรภ์หรือไม่   ในกรณีที่ลืมรับประทานยา  แม้ว่าประจำเดือนจะขาดไปเพียงครั้งเดียวก็ควรไปตรวจดูว่าตั้งครรภ์หรือไม่ 

สรุปข้อดีและข้อเสียของการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด 

ข้อดี 
1. เป็นวิธีที่ปลอดภัยสำหรับคุมกำเนิด 
2. เป็นวิธีที่ง่าย
3. ประจำเดือนจะมาสม่ำเสมอทุก 28 วัน
4. ลดอาการปวดประจำเดือน
5. ไม่ต้องกลัวจะเกิดการตั้งครรภ์ ทำให้ sexual life ดีขึ้น
ข้อเสีย 
1. ต้องกินยาทุกวันและสม่ำเสมอ
2. อาจมีอาการแทรกซ้อน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน น้ำหนักตัวเพิ่ม คัดเต้านม
3. ประจำเดือนอาจจะขาดหายไปในระยะหลังหยุดกินยาคุมกำเนิด 

2. ยาคุมกำเนิดชนิด Minipill 
            ยาคุมกำเนิดชนิดนี้มีแต่โปรเจสโตรเจนอย่างเดียว ได้ผลในการป้องกันการตั้งครรภ์น้อยกว่า combined pill เหมาะสำหรับผู้หญิงที่ไม่สามารถรับประทานยา combined pill ด้วยสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง เช่นในขณะให้นมบุตร หรือสตรีที่ไม่สามารถทนต่อผลข้างเคียงของเอสโตรเจนได้ ยาไม่สามารถป้องกันการตกไข่ได้แน่นอน ทำให้ประสิทธิภาพต่ำกว่ายาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรวม

3. ยาคุมกำเนิดชนิดฉุกเฉิน 
          ใช้ในสตรีไม่ได้คุมกำเนิด บังเอิญมีการร่วมสัมพันธ์ทางเพศ หรือถูกข่มขืนในระยะที่อาจมีการตกไข่ ปัจจุบันนี้มียาเม็ดคุมกำเนิดที่ใช้รับประทานทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์และไม่ควรเกิน 72 ชม.ซึ่งยาคุมกำเนิดชนิดดังกล่าวจะมีปริมาณของฮอร์โมนในขนาดสูงมากกว่าชนิดรวมประมาณ 5 เท่า โดยรับประทานยา 1 เม็ด ให้เร็วที่สุดหลังมีเพศสัมพันธ์และรับประทานเพิ่มอีก 1 เม็ดภายใน 12 ชม. และในเดือนหนึ่งไม่ควรเกิน 4-5 เม็ดเพราะจะทำให้มีผลข้างเคียงสูงมาก สำหรับประสิทธิภาพพบว่าต่ำกว่ายาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรวม 
ข้อเสียที่อาจเกิดจากการใช้ ฮอร์โมนในขนาดสูงคือ อาการคลื่นไส้, อาเจียน ที่เป็นมากอาจตึงคัดปวดเต้านมมาก อาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดขึ้นแก้ไขโดยให้ยาแก้อาเจียน 

ยาฉีดคุมกำเนิด 
            เป็นวิธีคุมกำเนิดชนิดชั่วคราวที่นิยมใช้กันมากและมีประสิทธิภาพสูงที่นิยมใช้แพร่หลายในประเทศไทย ซึ่งใช้ฉีดคุมกำเนิดทุก 12 สัปดาห์ เป็นวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสมกับวัยรุ่นวิธีหนึ่ง เนื่องจากคุมกำเนิดได้นานไม่มีภาระการรับประทานยาทุกวัน มีความเป็นส่วนตัวสะดวกในการใช้เพียงมารับการฉีดยาคุมกำเนิดตามกำหนดนัด

ข้อดี ของยาฉีดคุมกำเนิด เช่น ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์สูงใช้ง่ายสะดวก เนื่องจากไม่ต้องกลัวลืมเหมือนการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด ฉีดครั้งหนึ่งสามารถคุมกำเนิดได้นาน 3 เดือน ไม่ขัดขวางขั้นตอนต่าง ๆ ของการร่วมเพศ ไม่มีอาการข้างเคียง เช่น คลื่นไส้, อาเจียน หน้าเป็นฝ้า การอุดตันของหลอดเลือด และไม่ทำให้ปริมาณน้ำนมลดลง และการไม่มีรอบเดือนหลังฉีดยา
ข้อเสีย อาจมีปวดศีรษะ น้ำหนักขึ้น หลังเลิกฉีดยาคุมกำเนิด การตกไข่ที่จะเกิดเอาใหม่อาจกินเวลานานตั้งแต่ 3-12 เดือนหรือกว่านั้นซึ่งเป็นข้อเสียในเมื่อ ไม่สามารถจะมีครรภ์ใหม่ได้เร็วถ้าต้องการ
แผ่นยาคุมกำเนิดชนิดติดผิวหนัง 
            เป็นวิธีคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมรูปแบบใหม่ซึ่งผู้ใช้เป็นผู้ควบคุมเองเริ่มใช้ติดผิวหนังภายใน 5 วันแรกของรอบเดือน โดยใช้ติดไว้แผ่นละ 1 สัปดาห์รวม 3 แผ่นโดยเปลี่ยนไม่ซ้ำตำแหน่งที่ติดผิวหนังเดิมแล้วเว้น 1 สัปดาห์ให้เป็นรอบเดือน สามารถใช้ติดต้นแขน หลัง ตะโพก ท้องน้อย ยกเว้นเต้านม ข้อจำกัดคือ เป็นวิธีคุมกำเนิดรูปแบบใหม่ยังมีราคาสูง ต้องรับผิดชอบใช้และบริหารยาให้ถูกต้อง 

แหวนคุมกำเนิดใส่ช่องคลอด
 
           เป็นวิธีคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมรูปแบบใหม่ซึ่งผู้ใช้เป็นผู้ใส่เองอีกชนิดหนึ่ง วิธีใช้แหวนคุมกำเนิดใส่ช่องคลอด ต้องใช้ภายใน 5 วันแรกของรอบระดูใส่ต่อเนื่อง 21 วัน (3 สัปดาห์) เว้น 7 วัน เพื่อให้มีประจำเดือน ในขณะร่วมเพศสามารถค่าไว้ในช่องคลอดหรือเอาออกจากช่องคลอดก็ได้ แต่ห้ามนำออกจากช่องคลอดเกิน 3 ชั่วโมงใน 1 วัน 

ห่วงอนามัย 
            เป็นวิธีคุมกำเนิดชั่วคราวที่เหมาะสมในรายที่ไม่ควรใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิด โดยเลือกใช้ในวัยรุ่นที่ต้องการคุมกำเนิดระยะยาว 3-5 ปี วัยรุ่นดังกล่าวและคู่นอนไม่มีคู่นอนหลายคนข้อดีคือ ไม่มีผลจากฮอร์โมน หากใช้ชนิดผนวกทองแดงด้วย และประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูง 

ยาฝังคุมกำเนิด 
            เป็นวิธีคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูง และออกฤทธิ์นาน 3-5 ปี ขึ้นกับชนิดที่ใช้โดยชนิด 1 หลอด คุมกำเนิดได้นาน 3 ปี  และชนิด 2 หลอด คุมกำเนิดได้นาน 5 ปี สำหรับชนิด 6 หลอด สามารถคุมกำเนิดได้นาน 5 ปี ผลข้างเคียงเช่น เลือดออกกะปริดกระปรอยหรือไม่มีประจำเดือน

ถุงยางอนามัย 
            เป็นวิธีคุมกำเนิดชั่วคราวที่นิยมใช้กันแพร่หลายโดยอาจจะเป็น ถุงยางอนามัยผู้ชาย ถุงยางอนามัยหญิง ซึ่งเป็นวิธีคุมกำเนิดในกลุ่มวัสดุขวางกั้นไม่ให้มีการสัมผัสโดยตรงของอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งเพศชายและเพศหญิง  จึงป้องกันการหลั่งน้ำอสุจิเข้าสู่ช่องคลอด ซึ่งเป็นวิธีคุมกำเนิดในกลุ่ม barrier วัสดุที่ใช้ทำเป็น latex หรือ polyurethane ถุงยางอนามัยบุรุษมีประสิทธิภาพในทางปฏิบัติหากใส่ถูกวิธี และไม่มีการฉีกขาดระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ถุงยางอนามัยยังเป็นการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้เช่น โรคเอดส์ โรคตับอักเสบชนิดบีหรือซี โรคหนองใน เป็นต้น 

หมวกกั้นปากมดลูก และ หมวกครอบปากมดลูก 
           เป็นวัสดุคุมกำเนิดในกลุ่ม barrier ควรใช้ร่วมกับยาฆ่าเชื้ออสุจิเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดเพิ่มขึ้น หมวกกั้นปากมดลูกที่ใช้บ่อยจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 65 ถึง 80 มิลลิเมตร ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด พบอัตราการตั้งครรภ์ 12.3 รายใน 100 รายของผู้ที่ใช้วิธีดังกล่าว ในระยะเวลา 1 ปี ในกลุ่มผู้ใช้อายุมากจะมีประสิทธิภาพดีกว่ากลุ่มอายุน้อย วิธีคุมกำเนิดชนิดนี้ผู้ใช้เป็นผู้ใส่และเอาออกเองหลังมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่มีข้อเสียจากฮอร์โมน 

การนับระยะปลอดภัย
 

            กลุ่มที่มีรอบเดือนสม่ำเสมอส่วนใหญ่ 26-32 วันให้งดการร่วมเพศในวันที่ 8-19 ของรอบเดือนซึ่งเป็นช่วงที่อาจจะมีการตกไข่ อีกวิธีจะสังเกตมูกที่ปากมดลูก คือหากสังเกตพบมูกที่ปากมดลูกติดต่อกัน 2 วันให้ถือว่าอยู่ในภาวะเจริญพันธุ์ต้องหลีกเลี่ยงการร่วมเพศโดยไม่ป้องกันการตั้งครรภ์ ในกรณีไม่พบมูกที่ปากมดลูกติดต่อกัน 2 วันก็ควรเป็นระยะปลอดภัยจากการตั้งครรภ์หากมีการร่วมเพศ อย่างไรก็ตามวิธีนับระยะปลอดภัยมีประสิทธิภาพไม่ดีนักจึงไม่เหมาะกับวัยรุ่นที่มีภาวะเจริญพันธุ์สูง 



การทำแท้ง

ความหมายของการแท้ง
การแท้ง หมายถึง การสิ้นสุดของการตั้งครรภ์ ก่อนที่เด็กจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้นอกครรภ์มารดา เท่าที่องค์การอนามัยโลกใช้กันมาแต่เดิม ถือเอาการสิ้นสุดของการตั้งครรภ์ก่อนอายุครรภ์ ๒๘ สัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เด็กยังหนักไม่ ถึง ๑,๐๐๐ กรัม
ในระยะหลังนี้ประเทศที่พัฒนาแล้วมีความก้าวหน้าทางการแพทย์มาก จนสามารถจะเลี้ยงดูเด็กที่น้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่า ๑,๐๐๐ กรัม ให้รอดชีวิตได้เป็นส่วนใหญ่ ประเทศเหล่านั้นจึงเปลี่ยนนิยามของการแท้งใหม่ โดยถือว่า การแท้งเป็นการสิ้นสุดของการตั้งครรภ์ เมื่ออายุครรภ์ต่ำกว่า ๒๐ สัปดาห์ หรือเมื่อเด็กมีน้ำหนักต่ำกว่า ๕๐๐ กรัม สำหรับในประเทศไทยยังไม่ก้าวหน้าถึงเพียงนั้น จึงพากันใช้คำนิยามเดิมไปก่อน
การแท้งอาจแบ่งเป็นกลุ่ม ใหญ่ๆ ได้ ๒ กลุ่ม คือ
๑. การแท้งเอง หมายถึง การแท้งที่เกิดจากสาเหตุต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำที่จงใจจะให้เกิดการแท้ง ถือเป็นความล้มเหลวของการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ สาเหตุของการแท้งเองอาจจะเกิดได้จาก
ก. ความบกพร่องของไข่ที่ผสมแล้ว หรือตัวอ่อน พวกนี้จะแท้งตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ใหม่ๆ ไปจนถึงอายุครรภ์ไม่ เกิน ๑๒ สัปดาห์
ข. ความบกพร่องทางด้านมารดา เช่น มดลูกพิการ ปากมดลูกปิดไม่ดี โรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคไต โรคเลือด การแท้งจากสาเหตุนี้จะเกิดขึ้น เมื่ออายุครรภ์มากเกิน ๑๒ สัปดาห์ขึ้นไป
จากการสำรวจผู้ป่วยแท้งเอง แพทย์ยังไม่พบสาเหตุชัดเจน สำหรับตัวผู้ป่วยเองนั้น มักจะคิดว่า การกระทบกระเทือนเป็นสาเหตุของการแท้ง
๒. การทำแท้ง หมายถึง กระทำ เพื่อให้เกิดการแท้ง แบ่ง เป็น
ก. การทำแท้ง เพื่อการรักษา หมายถึง การทำแท้งในกรณีที่กฎหมายอนุญาตให้ทำได้ กฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่า แพทย์สามารถจะทำแท้งได้ในกรณีต่อไปนี้
(๑) เมื่อพิจารณาเห็นว่า หากปล่อยให้การตั้งครรภ์ดำเนินต่อไป จะเป็นอันตรายร้ายแรงต่อชีวิตสุขภาพของมารดา เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง โรคเลือด โรคไตบางชนิด
(๒) มารดาที่เป็นโรคจิตอยู่ก่อนการตั้งครรภ์ หรือเป็นโรคจิตขณะตั้งครรภ์
(๓) การตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นจากการข่มขืนกระทำชำเราในผู้เยาว์ต่ำกว่า ๑๕ ปี
โดยทั่วไป แพทย์จะเป็นผู้ตัดสินว่ารายใดควร จะทำแท้งให้ แม้ว่าจะมีเหตุผลถูกต้องตามกฎหมาย แพทย์ก็ยังจะต้องพิจารณาดู ถึงผลได้และผลเสียของการ ทำแท้งในแต่ละรายด้วย อาทิเช่น เด็กอายุ ๑๓ ขวบถูก ข่มขืนจนตั้งครรภ์ ถึงแม้จะมีหลักฐานชัดเจน แต่ได้ปล่อยปละละเลยทิ้งไว้จนอายุครรภ์ ๖ เดือน กรณีนี้การ ทำแท้งก่อให้เกิดอันตรายมากกว่าการปล่อยให้ตั้งครรภ์ต่อไป
อาจจะเป็นเพราะกฎหมายการทำแท้งค่อนข้าง เก่า หรือเพราะความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการแพทย์ ค่อนข้างรวดเร็ว จนสามารถจะให้การวินิจฉัยความพิการ บางชนิดของเด็กในท้องได้ แพทย์จึงทำแท้งให้ในกรณีของเด็กพิการ ซึ่งบางรายยังพิสูจน์ไม่ได้ว่า จะพิการหรือไม่ เช่น กรณีของมารดาติดเชื้อหัดเยอรมัน เพียง ขณะตั้งครรภ์อ่อนๆ โอกาสที่เด็กในท้องจะมีความพิการของหัวใจ หูหนวก ตาเป็นต้อ และสมองพิการใน อัตราค่อนข้างสูง มารดามีความวิตกกังวลว่า เด็กที่ออกมาจะพิการ เป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตของมารดา และถ้าเด็กออกมามีความพิการจริงก็จะเป็นภาระแก่ครอบครัว สังคม และประเทศชาติต่อไป
ในเรื่องของโรคจิตนั้น จิตแพทย์จะเป็นผู้พิจารณา ชี้ขาดว่าควรทำแท้งหรือไม่ ทั้งนี้ก็เพื่อขจัดปัญหาเกี่ยวกับการเป็นโรคจิตจริง หรือโรคจิตปลอมออกไป
ข. การทำแท้งผิดกฎหมาย หมายถึง การ ลักลอบทำแท้งโดยบุคคลที่มิใช่แพทย์ ไม่ว่าจะทำโดยเหตุผลใดๆ ทั้งสิ้น รวมทั้ง การทำแท้งโดยแพทย์ที่ทำ นอกเหนือข้อบ่งชี้ที่กฎหมายระบุไว้ เนื่องจากผู้ประกอบการทำแท้งส่วนมากมิใช่แพทย์ และทำแท้ง โดยไม่ถูกหลักวิชา การทำแท้งผิดกฎหมาย จึงมักมีอาการแทรกซ้อน และมีอันตรายมากกว่าแท้งเอง หรือแท้งเพื่อการรักษา
อุบัติการของการแท้งและการทำแท้ง
การแท้งเอง
จากสถิติทางการแพทย์พบว่า การแท้งเองเกิดขึ้นร้อยละ ๑๐ ของการตั้งครรภ์ หมายถึงว่า การตั้งครรภ์ ๑๐ ครั้ง จะเกิดการแท้งเอง ๑ ครั้ง แต่ผู้เขียนคิดว่า ตัวเลขที่แท้จริงน่าจะมากกว่านี้ ทั้งนี้เนื่องจากการแท้งเองในระยะที่พึ่งเริ่มตั้งครรภ์ใหม่ๆ อาจเกิดขึ้นโดยผู้ตั้งครรภ์ไม่ทราบว่า ตนเองแท้ง อาจคิดว่า มีประจำเดือนล่าช้ากว่ากำหนดก็ได้
การทำแท้งเพื่อการรักษา
อุบัติการของการทำแท้ง เพื่อการรักษานั้นมีน้อย ที่โรงพยาบาลศิริราช มีการทำแท้ง เพื่อการรักษาปีละ ๓๐-๔๐ รายเท่านั้น ช่วงเวลาที่มีการระบาดของหัดเยอรมัน จำนวนการทำแท้ง เพื่อการรักษาก็มากขึ้น
การทำแท้งที่ผิดกฎหมาย
การลักลอบทำแท้งที่ผิดกฎหมายมีอุบัติการสูงมาก เท่าที่เผยแพร่ตัวเลข เพื่อประกอบการพิจารณาแก้ไขกฎหมายทำแท้งในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ นั้น อ้างว่า มีการทำแท้งทั่วประเทศปีละระหว่าง ๒๐๐,๐๐๐-๔๐๐,๐๐๐ ราย ตัวเลขนี้ผู้ที่คัดค้านการแก้กฎหมายทำแท้งให้ความเห็นว่า มากเกินความเป็นจริง แต่สำหรับผู้สนับสนุนให้แก้กฎหมายกลับคิดว่าเป็นตัวเลขที่น้อยไปด้วยซ้ำ

หยุดปัญหาเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร

หยุดปัญหาเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร

                การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางสังคม ครอบครัวและเศรษฐกิจ ตลอดจนเทคโนโลยีต่างๆ ส่งผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และการตั้งครรภ์ในกลุ่มเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น โดยเฉพาะในยุคไอทีก้าวหน้า ทุกคนสามารถเข้าถึงและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว
          แน่นอนว่าเด็กและวัยรุ่นยังมีภาวะอารมณ์ที่อ่อนไหว คล้อยตามคารมโน้มน้าวได้ง่าย ขณะเดียวกันก็กล้าคิดกล้าทำและพร้อมที่จะเปิดรับสิ่งต่างๆ ขาดการยั้งคิด โดยเฉพาะเรื่องยาเสพติดและเรื่องของการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวันอันควร
          ปัจจุบันวัยรุ่นไทยมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่ อายุน้อยและไม่มีการป้องกัน ทำให้เกิดปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ หลายคนกลายเป็นคุณพ่อมือใหม่ คุณแม่มือใหม่ หรือหนักกว่านั้น คือ ท้องไม่มีพ่อ สุดท้ายเมื่อคลอดบุตรแล้ว ก็ทิ้งไว้เป็นภาระแก่พ่อแม่ (หรือปู่ย่าตายาย) เลี้ยง จนเด็กขาดความอบอุ่น ส่งผลต่อปัญหาสังคมตามมาอีกมากมายไม่จบสิ้น นอกจากนี้คู่รักวัยรุ่นยังสุ่มเสี่ยงกับการเกิดโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ เพราะไม่รู้จักการป้องกัน ปัญหาเหล่านี้ทำให้หลายๆ คนถึงกับหมดอนาคต
          กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายอำเภอขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ได้แก่ โรงเรียนสวัสดีวิทยา โรงเรียนบ้านนาก๊อก และโรงเรียนบ้านเรียม เป็นอีกหนึ่งกลุ่มโรงเรียน ที่ให้ความสำคัญกับเพศศึกษาในวัยรุ่น จึงได้ 
จัดทำโครงการ "การจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม ขององค์กรในชุมชนเพื่อสร้างความรู้ ความรัก และทักษะเพศศึกษาที่ถูกต้องสร้างเยาวชนไทย ให้สมบูรณ์"
          โครงการดังกล่าวอยู่ในชุด โครงการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชน เพื่อสุขภาวะเด็กและเยาวชน ของ สสส. ซึ่ง ดำเนินโครงการจำนวน 64 โครงการหลัก ในกว่า 300 โรงเรียน ทั่วทุกภูมิภาค โดยเป็นโครงการที่เน้นกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างสถานศึกษาและชุมชน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ที่ยั่งยืน มีประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับสุขภาวะของเด็กและเยาวชนในพื้นที่เป็นตัวตั้ง ครอบคลุมปัจจัยเสี่ยง 4 ด้าน คือ เหล้า บุหรี่ อาหารที่ปลอดภัย และสุขภาวะทางเพศ ซึ่งแต่ละโรงเรียน แต่ละชุมชน แต่ละพื้นที่มีประเด็นปัญหาที่แตกต่างกันและมีทุนทางสังคมรวมทั้ง บริบทปัญหาที่ไม่เหมือนกัน การสร้างองค์ความรู้ และความร่วมมือจึงเป็นกลไกสำคัญที่จะแก้ไขปัญหาของแต่ละชุมชนได้ "เพศศึกษาไม่ใช่เป็นแค่เรื่องเพศสัมพันธ์ มันมีมากกว่านั้น เราตั้งเป้าจะทำยังไงที่ ลดปัญหาได้ นั่นคือ เพิ่มเติมความรู้ให้เยาวชน ให้เขาลด หรือแม้เขาจะมีเพศสัมพันธ์ แต่ก็ต้องให้เขาป้องกันตัวเอง โดยเราจะสอดแทรกการนำเอาครอบครัวอบอุ่นมาช่วยเสริม ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ให้เรื่องสุขภาวะเรื่องเพศลดน้อยลง" กิตติศักดิ์ มครนันท์ ครูประจำโรงเรียนสวัสดีวิทยา บอกถึงความตั้งใจในการแก้ปัญหาวัยรุ่นกับเรื่องเพศสัมพันธ์
          การดำเนินโครงการทั้ง 3 โรงเรียนใน เครือข่าย จะวางแผนร่วมกับทุกองค์กรในชุมชน ได้แก่ ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล (รพ.สต.) โรงพยาบาล สถานีตำรวจ โดยมีการทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันในการสร้าง องค์ความรู้ด้วย เมื่อผ่านการเห็นชอบจาก ทุกคนแล้วจะนำนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและแกนนำ มาทำกิจกรรมร่วมกัน
          รูปธรรมชัดเจนที่สุดของกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายอำเภอขุขันธ์ดำเนินการและประสบความสำเร็จ คือการจัดทำหลักสูตรวิชา เพศศึกษา ไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอน ไม่ใช่เป็นเพียงแค่บทเรียนบทหนึ่งในวิชาสุขศึกษาอีกต่อไป เพราะมีการสอน และสอบเก็บคะแนนเหมือนวิชาสามัญอื่นๆ
          "เราจัดทำขึ้น ก็มาจากความร่วมมือ ของทุกฝ่าย โดยเฉพาะ รพ.สต. ที่ช่วยดูว่า ไม่ให้เนื้อหาส่อไปในทางทะลึ่งได้อย่างไร บางเรื่องต้องพูด เพราะพ่อแม่ไม่กล้าพูด แต่เมื่อ ครูพูดเด็กก็กล้าเปิดใจ กล้าบอกเล่าเรื่องราวให้เราได้ฟัง" ครูกิตติศักดิ์ ย้ำชัดถึงความสำคัญ ของการสอนเรื่องการเพศศึกษาให้กับเด็ก และ เยาวชน
          ขณะเดียวกัน ยังพบว่านักเรียนที่เรียนวิชาเพศศึกษา เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เช่น เมื่อมีปัญหามักจะเดินเข้าปรึกษาครู ซึ่งแตกต่างจากก่อนหน้านี้ที่มักจะเก็บปัญหาไว้กับตัวเอง เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนใกล้ชิดกันมากขึ้น ก็นำมาซึ่งกิจกรรมสร้างสรรค์มากมาย

ที่มา : http://www.thaihealth.or.th/Content/

วัยรุ่นวุ่นรัก...ท้องครั้งนี้ใครไม่พร้อม

วัยรุ่นวุ่นรัก...ท้องครั้งนี้ใครไม่พร้อม
 หนึ่งในปัญหาทางเพศที่กำลังได้รับความสนใจจากหน่วยงานรัฐอยู่ในขณะนี้คือ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นซึ่งอาจจะแปลได้ว่าเป็นการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อมนั่นเอง ซึ่งในที่นี้จะไม่นับคู่สามีภรรยาที่แต่งงานกันแล้วแต่ยังไม่พร้อมที่จะมีบุตร ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม เพราะหากเกิดการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจขึ้นมา สามีภรรยาคู่นั้นๆ น่าจะสามารถหาทางออกได้ง่ายและเหมาะสมกว่าวัยรุ่น ซึ่งยังมีชีวิตแบบเด็กๆ อยู่
     จากการได้มีโอกาสเข้าไปดูแลเรื่องของการคัดกรองเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตในส่วนของคลินิกฝากครรภ์ ซึ่งเน้นไปที่คุณแม่ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีลงมา ทำให้ผมพบว่า จะมีกลุ่มเยาวชนทั้งที่ยังอยู่ในชุดนักเรียนหรือออกจากโรงเรียนไปแล้วเข้ามาฝากครรภ์สัปดาห์ละประมาณ 3-5 คนเป็นอย่างน้อย ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะมากับผู้ปกครอง มีบ้างที่มากับสามี(หรือพ่อของลูกในท้อง) โดยเด็กๆ เหล่านี้จะอยู่ในสถานการณ์เหมือนโดนบังคับให้รับสภาพที่เกิดขึ้น หลายครั้งเมื่อได้พูดคุยก็จะพบว่า เด็กยังคงมีความสับสนเกี่ยวกับอนาคตข้างหน้าว่าจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะในรายที่เพิ่งทราบว่าตั้งครรภ์หรืออายุครรภ์น้อยๆ ซึ่งส่วนมากเมื่อสอบถามถึงสาเหตุแห่งการตั้งครรภ์ก็จะพบว่า

      * เพิ่งมีแฟนคนแรก และยังไม่ค่อยเข้าใจหรือยังไม่ค่อยตระหนักถึงการป้องกันการตั้งครรภ์เมื่อมีเพศสัมพันธ์ โดยส่วนใหญ่จะมีความไว้เนื้อเชื่อใจฝ่ายชายว่ามีประสบการณ์มากกว่า น่าจะรู้วิธีการป้องกันที่จะทำให้ไม่ตั้งครรภ์ได้ แม้ว่าบางรายจะเคยเรียนเรื่องการคุมกำเนิดมาบ้างแล้ว แต่เมื่อมาเจอสถานการณ์จริงๆ ก็อายที่จะแสดงความรู้นี้ออกไป หรือไม่ก็คิดว่าแค่ครั้งเดียวคงไม่ท้อง

      * การขาดความรู้เรื่องเพศศึกษา เริ่มจากเรื่องการคุมกำเนิดตั้งแต่ก่อนมีเพศสัมพันธ์ เพราะอาจจะไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจที่จะมีเพศสัมพันธ์ไว้ก่อน แถมเมื่อมีเพศสัมพันธ์แล้วก็ยังขาดความรู้เรื่องยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินอีก จนทำให้เกิดการท้องในที่สุด หรือบางรายก็เลือกใช้วิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพต่ำในการป้องกันการตั้งครรภ์ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ถุงยางอนามัย เช่น การหลั่งข้างนอก การนับรอบเดือน เป็นต้น ด้วยความเชื่อว่าถุงยางอนามัยทำให้ไม่สนุกสุดเหวี่ยง ไม่เท่ ไม่กล้า ไม่แน่จริง ฯลฯ

      * ฝ่ายหญิงต้องการตั้งท้องเพื่อให้ฝ่ายชายหันมาสนใจ โดยที่ในความเป็นจริงแล้วตนเองก็ยังไม่พร้อมและไม่ตั้งใจที่จะมีลูก หรือบางครั้งก็เป็นความประสงค์ของฝ่ายชายที่จะทำให้ภรรยาอยู่ติดบ้านเพื่อเลี้ยงลูก กลายเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ก่อให้เกิดปัญหาใหม่ซึ่งใหญ่กว่าเดิมโดยไม่รู้ตัว สำหรับสาเหตุข้อนี้ ถ้าไม่ได้เจอกับตัวเองในการให้การปรึกษา ผมคงไม่เชื่อว่าเด็กอายุเพิ่งย่างเข้าวัยรุ่นสมัยนี้จะมีความคิดที่ไม่ต่างอะไรกับเด็กวัยรุ่นในยุคที่เรื่องเพศยังเป็นเรื่องปกปิด หรือวัยรุ่นในยุคโบราณนั่นเอง

      * ค่านิยมการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ไส่ถุงยางอนามัย ซึ่งบางครั้งค่านิยมดังกล่าวก็มาจากต้นแบบในหนังโป๊ต่างๆ ที่เยาวชนสามารถเสาะหามาดูกันได้ง่ายๆ สิ่งที่น่ากลัวคงไม่ใช่การดูหนังโป๊เหล่านั้น แต่อยู่ที่เยาวชนมักจะเลียนแบบสิ่งที่อยู่ในหนังมากกว่า นั่นคือการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใส่ถุงยางอนามัยนั่นเอง เพราะนอกจากเสี่ยงต่อการท้องไม่พร้อมของฝ่ายหญิงแล้ว ยังเสี่ยงที่จะเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย โดยเฉพาะ โรคเอดส์
     จากสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาท้องไม่พร้อมดังที่กล่าวมาในข้างต้นน่าจะทำให้เราตะหนักว่า ประโยคที่พูดกันว่า ไม่ต้องสอนเรื่องเพศศึกษาหรอก โตไปเดี๋ยวก็รู้เองนั้นใช้ไม่ได้ผลอย่างสิ้นเชิง เพราะเด็กควรได้รับข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจว่าจะมีเพศสัมพันธ์หรือไม่ รวมถึงควรมีความรู้ที่จะปกป้องตัวเองจากปัญหาดังกล่าว ซึ่งการแก้ปัญหานี้จึงควรมีแนวทางดังนี้

      * การสอนเพศศึกษาในโรงเรียน ซึ่งถือว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ดีเพราะเป็นการแก้ที่ต้นเหตุ ทำให้นักเรียนได้รับความรู้อย่างเต็มที่และหลากหลาย ดังนั้นแทนที่จะไปแฝงอยู่กับวิชาอนามัยเจริญพันธุ์ หรือวิชาสุขศึกษา อย่างเช่นสมัยก่อน ก็ควรสอนวิชาเพศศึกษาเพื่อให้วัยรุ่นเข้าใจและนำไปใช้ในการปฏิบัติได้ 

      * การให้ความช่วยเหลือโดยให้การปรึกษาทั้งก่อนและหลังการท้องไม่พร้อม โดยเน้นเรื่องการเสริมสร้างกำลังใจ และหาทางออกที่เหมาะสมให้กับแต่ละรายไป

      * การปลูกฝังค่านิยมเรื่องเพศสัมพันธ์ที่มีวุฒิภาวะให้เกิดขึ้นในสังคมไทย นั่นคือการมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้งจะต้องเกิดจากความสมัครใจ เต็มใจ ปราศจากการขู่เข็ญ และยังต้องเป็นเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ไม่เสี่ยงต่อการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือเกิดผลลัพธ์ที่ไม่ต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการท้องไม่พร้อม เรียกว่าวัยรุ่นต้องมีความรับผิดชอบกับเพศสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นด้วย

      * มีสถานบริการที่เป็นมิตร เพราะวัยรุ่นต้องการได้รับความช่วยเหลือเมื่อเกิดการตั้งครรภ์โดยที่ยังไม่พร้อม ไม่ว่าจะเป็นการให้การดูแลหากเขาต้องการที่จะตั้งครรภ์ต่อไป หรือแม้กระทั่งการยุติการตั้งครรภ์
     ที่สำคัญวัยรุ่นที่ตั้งท้องโดยไม่พร้อมยังมีความต้องการในเรื่องของกำลังใจ การสนับสนุนทางด้านจิตใจ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นระดับได้ดังต่อไปนี้

      * ครอบครัว แม้ว่าส่วนใหญ่แล้วคนที่รู้เรื่องก่อนมักจะเป็นเพื่อน แต่คนที่วัยรุ่นอยากให้เข้าใจมากที่สุดคงจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งเป็นคนที่น่าจะรักเขามากที่สุด แต่ถ้าปรากฏว่าคุณพ่อคุณแม่ไม่ยอมรับ ก็มักจะทำให้วัยรุ่นที่ท้องไม่พร้อมเกิดปัญหาด้านจิตใจตามมา ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงอาจจะต้องใจเย็นๆ สักนิด

      * จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา บางครั้งเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นในครอบครัวจากการที่ลูกวัยรุ่นท้องไม่พร้อม การหาคนกลางมาช่วยสมานฉันท์ดูจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดี เช่น อาจจะเป็นญาติพี่น้องที่มีความใกล้ชิด แต่หากไม่มีคนในครอบครัวสามารถทำหน้าที่นี้ได้ การไปขอรับคำปรึกษาจากจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาก็ดูจะเป็นอีกทางออกที่น่าสนใจ เพราะคนกลุ่มนี้จะมีความเข้าใจพฤติกรรมหรืออารมณ์ที่คนในครอบครัวและตัววัยรุ่นแสดงออกมา

     จะเห็นว่านอกจากตัววัยรุ่นจะได้รับผลกระทบทางด้านจิตใจจากการท้องไม่พร้อมแล้ว ผู้ปกครองหรือคุณพ่อคุณแม่ก็ต้องการกำลังใจด้วยเช่นกัน เพราะบางครั้งอารมณ์หรือพฤติกรรมที่คุณพ่อคุณแม่แสดงออกมานั้น ก็เกิดจากความไม่พร้อมด้านจิตใจนั่นเอง จึงต้องให้เวลากับทั้งสองฝ่ายในการปรับตัว

ที่สำคัญอย่าลืมว่า ไม่มีวิธีแก้ปัญหาวัยรุ่นท้องไม่พร้อมได้ดีเท่ากับการป้องกัน ซึ่งทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน


ที่มา : http://www.healthtoday.net/thailand/sexual/sexual_127.html

การป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร

การป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร
1. เรียนรู้ถึงความคิดต่างกันของหญิงชายในเรื่องเพศ
         ผู้ชายมีเพศสัมพันธ์ได้โดยไม่มีความรัก ขณะที่ผู้หญิงมีเพศสัมพันธ์เพราะความรัก ผู้ชายมองการมีเพศสัมพันธ์ว่าเป็นการหาความสุขร่วมกันและไม่ต้องผูกพัน ขณะที่ผู้หญิงเมื่อมีเพศสัมพันธ์กับชายใดจะต้องการมีความผูกพันกับชายคนนั้น หลังจากมีเพศสัมพันธ์ ผู้ชายไม่ได้คิดว่าจะต้องมีความผูกพันอะไรต่อไป ขณะที่ผู้หญิงคิดว่าเมื่อมีเพศสัมพันธ์กันแล้ว เธอจะต้องมีความผูกพันกับชีวิตเขา จึงเรียกความรับผิดชอบจากผู้ชาย ความตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างชายหญิง จะเป็นการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่คาดคิด ซึ่งจะนำปัญหาต่าง ๆ มากมายที่ยากแก่การแก้ไข
2. วัยรุ่นชายควรคิดเสมอว่าวัยรุ่นหญิงเป็นเพศเดียวกับแม่ พี่น้อง ควรช่วยเหลือและให้เกียรติ
3. ควรหลีกเลี่ยงการถูกเนื้อต้องตัว เพราะอาจนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่คาดคิดได้
4. ควรหลี่กเลี่ยงการไปพักค้างคืนร่วมกันเป็นหมู่คณะ หรือตามลำพังโดยไม่มีผู้ใหญ่คอยดูแล
5. ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ด้วยกันตามลำพังในที่ลับตาคน
6. ควรหลีกเลี่ยงการไปในสถานที่เปลี่ยว โรงแรมและสถานเริงรมย์ทุกรูปแบบ
7. ควรหลีกเลี่ยงการมีนัดหมายกับเพศตรงข้ามในยามวิกาล
8. ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเหล้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสารเสพติดทุกชนิด
9. วัยรุ่นหญิงควรแต่งกายเรียบร้อย และมิดชิด ไม่ควรแต่งกายในลักษณะที่ยั่วยุ ให้ผู้พบเห็นเกิดอารมณ์ทางเพศ เช่น เสื้อสายเดี่ยว เสื้อเกาะอก กระโปรงสั้น และกางเกงรัดรูปเกินไป
10. หลีกเลี่ยงการคบเพื่อนหรือออกเที่ยวกับเพื่อนต่างเพศที่ไม่รู้จักดีพอ
11. ควรหลีกเลี่ยงการออกเที่ยวหรือเดินทางในยามวิกาล หรือการเดินทางในที่เปลี่ยว
12. วัยรุ่นชายหญิงควรวางตัวต่อกันอย่างสุภาพ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน และไม่ควรมีการล่วงเกินทางเพศ หรือวางตัวสนิทสนมใกล้ชิดเกินไป
13. การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง ในสถานการณ์ที่เหมาะสม(การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง เป็นทางออกที่ดีทางหนึ่ง ใช้เป็นไม้ตายสุดท้าย ควรทำในที่ลับ และอย่าพร่ำเพรื่อจนเกินไป)


ที่มา : http://icare.kapook.com/aids.php?ac=detail&s_id=103&id=1140