วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

หน่วยความจำสำรอง

หน่วยความจำสำรองคืออะไร ?
         หน่วยความจำสำรอง  เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูล และโปรแกรมที่ต้องการใช้งานในครั้งต่อไป เพราะการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องกระทำกับข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำหลักเท่านั้น  แต่เนื่องจากเนื้อที่ในหน่วยความจำหลักมีไม่เพียงพอ  บางครั้งจึงไม่สามารถเก็บข้อมูลทั้งหมดเอาไว้ได้  
         ดังนั้นถ้าผู้ใช้ต้องการเก็บข้อมูลหรือผลลัพธ์ที่อยู่ในหน่วยความจำหลักไว้อย่างถาวรเพื่อจะได้นำมากลับมาใช้อีกหรือนำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ก็จำเป็นต้องถ่ายโอนข้อมูลจากหน่วยความจำหลักไปเก็บไว้ที่สื่อบันทึกข้อมูล หรือหน่วยความจำสำรอง 

หน่วยความจำสำรองมีอะไรบ้าง ?
       -  ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk)
    -  ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)
    -  แผ่นซีดีรอม (CD ROM)
    -  แผ่นดีวีดี DVD (Digital Versatile Disk)
    -  แฟลชไดร์ฟ (USB Flash drives


ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk)
      แผ่นดิสก์แบบอ่อน หรือ ฟลอปปีดิสก์ หรือที่นิยมเรียกว่า แผ่นดิสก์ หรือ ดิสเกตต์ เป็น    อุปกรณ์เก็บข้อมูล ที่อาศัยหลักการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็ก โดยทั่วไปมีลักษณะบางกลมและบรรจุอยู่ในแผ่นพลาสติกสี่เหลี่ยม คอมพิวเตอร์สามารถอ่านและเขียนข้อมูลลงบนฟลอปปีดิสก์ ผ่านทางฟลอปปีดิสก์ไดร์ฟ

ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)
      เป็นอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลได้มาก สามารถเก็บได้อย่างถาวร โดยไม่จำเป็นต้องมีไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา เมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็จะไม่สูญหาย จึงถูกจัดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บระบบปฏิบัติการ โปรแกรม และข้อมูลต่าง ๆ ฮาร์ดดิสก์มีหน่วยความจุตั้งแต่เป็นไบต์ เมกะไบต์ จนถึงจิกะไบต์ หากเครื่องคอมพิวเตอร์มีความจุของฮาร์ดดิสก์มากก็จะทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มาก
 

แผ่นซีดีรอม (
CD ROM)
     เป็นสื่อในการเก็บข้อมูล แบบออปติคอล (Optical Storage) โดยใช้ลำแสงเลเซอร์ในการอ่านข้อมูล ซึ่งทำมาจาก แผ่นพลาสติกที่เคลือบด้วย อะลูมิเนียม และ อะคลีลิค โดยการบันทึกข้อมูล จะมีการบันทึกข้อมูลเป็น Land และ Pit โดยการยิงแสงไปยังจุดที่เป็นรอยต่อระหว่าง Land และ Pit แล้วแสงจะสะท้อนมายังตัวรับแสง ค่าที่อ่านได้ จะมีค่าเป็น 1 แต่ถ้าแสงยิงไปยังจุดที่เรียบไม่เป็นรอยต่อ ระหว่าง Land และ Pit แสงจะสะท้อนออกจากตัวรับแสง ทำให้ค่าที่อ่านได้มีค่าเป็น 0แผ่นซีดี แบ่งได้เป็น  3  ชนิด  ดังต่อไปนี้
  1. ซีดีรอม (CD-Rom) ผู้ใช้ไม่สามารถบันทึกหรือลบข้อมูลบนแผ่นได้  แต่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ผู้ผลิตให้มาได้เท่านั้น  นิยมใช้ในการบันทึกข้อมูลที่มีปริมาณมาก ๆ
  2. ซีดีอาร์ (CD-R) สามารถเขียนข้อมูลลงแผ่นได้ โดยข้อมูลที่มีการเขียนบันทึกลงบนแผ่นซีดีอาร์แล้ว ข้อมูลเหล่านั้นจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ผู้ใช้สามารถบันทึกข้อมูลต่างๆ ลงแผ่นเดิมได้จนกระทั่งแผ่นเต็ม 
 3. แผ่นซีดีอาร์ดับบลิว (CD-RW) หน่วยความจำที่สามารถเขียนข้อมูลลงแผ่น และสามารถเขียนข้อมูลใหม่ทับลงในแผ่นเดิม หรือเรียกอีกอย่างว่าผู้ใช้สามารถเปลี่ยนเนื้อหาต่างๆ ภายในแผ่นซีดีอาร์ดับบลิวได้คล้ายแผ่นฟลอปปี้ดิสก์ แนซีดีอาร์ดับบลิวมีความจุเหมือนแผ่นซีดีมาตรฐานทั่วไป  และส่วนมากสามารเขียนข้อมูลทับใหม่ได้ถึง 100 ครั้ง

แผ่นดีวีดี DVD (Digital Versatile Disk)
     ลักษณะภายนอกของแผ่นดีวีดี จะเหมือนกับแผ่น ซีดี ทุกอย่าง แต่มีความจุสูงกว่ามาก เพราะ มีชั้นข้อมูลที่บางกว่าแผ่นซีดี จำนวนสองชั้นทำให้มีความหนามากกว่า ฮาร์ดแวร์ ของดีวีดีก็จะซับซ้อนกว่า สามารถบันทึกได้สองหน้า ( ด้านหน้าและด้านหลัง ) ก็จะเพิ่มความจุเป็น 4 ชั้น หรือ ประมาณ 17 GB   ในกรณีที่เก็บข้อมูล สองชั้น ในด้านเดียวกัน จะทำได้โดยใช้สารเคลือบที่มีคุณสมบัติสะท้อนลำแสงได้แตกต่างกันสำหรับแต่ละชั้น ทำให้เพิ่มความจุในการเก็บขึ้นสองเท่า
              1. DVD-ROM  เป็นดีวีดีชนิดที่อ่านได้อย่างเดียว ฮาร์ดแวร์ที่ใช้อ่านข้อมูลจากดีวีดีรอมคือ ดีวีดีรอมไดรฟ์หรือที่เรียกกันว่า เครื่องเล่นดีวีดี (DVD Player) ในขณะที่ซีดีรอมสามารถบันทึกวิดีทัศน์คุณภาพดีได้เพียงชั่วโมงกว่าๆ ดีวีดีรอมสามารถเก็บวิดีโอคุณภาพสูงพร้อมเสียงที่มีความยาวมากกว่าสองชั่วโมงได้และมีคุณภาพเทียบได้กับภาพยนตร์ที่ฉายในโรงภาพยนตร์  อุตสาหกรรมภาพยนตร์จึงนิยมใช้ดีวีดีรอมในการบันทึกภาพยนตร์เพื่อจำหน่าย
              2. DVD-R เป็นแผ่นดีวิดีที่สามารถบันทึกได้ครั้งเดียว ไม่สามารถบันทึกทับหรือลบได้
              3. DVD-RAM เป็นแผ่นดีวิดีที่สามารถเขียนข้อมูลได้หลายครั้ง และ สามารถเขียนข้อมูลตรงไหนก็ได้ เหมือน ฮาร์ดดิสก์ทั่วไป โดยไม่จำเป็นเขียนหรือลบทั้งแผ่นในคราวเดียว
              4. DVD-RW เป็นแผ่นดีวิดีที่สามารถเขียนและลบข้อมูลได้หลายครั้งเหมือนแผ่น DVD-RAM ต่างกันตรงที่ แผ่นแบบนี้ต้องเขียนหรือลบทั้งแผ่น ในคราวเดียว
              5. DVD+RW เป็นฟอร์แมต อนาคต ที่พัฒนาโดยกลุ่ม HP, Phillips, SONY และอีกหลายบริษัท โดยจะสามารถเขียนตรงไหนก็ได้เหมือน DVD-RAM และมีความจุ 4.7 GB ต่อหน้า


แฟลชไดร์ฟ (USB Flash drives)
        เป็นหน่วยความจำประเภทรอมที่เรียกว่า อีอีพรอม ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่นำข้อดีของรอมและแรมมารวมกัน ทำให้หน่วยความจำชนิดนี้สามารถเก็บข้อมูลได้เหมือนฮาร์ดดิสก์ คือสามารถเขียนและลบข้อมูลได้ตามต้องการและเก็บข้อมูลได้แม้ไม่ได้ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำชนิดนี้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาได้สะดวก มักใช้เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลในอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล เช่น กล้องดิจิตอล กล้องวีดิทัศน์ที่เก็บข้อมูลแบบดิจิตอล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น